วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่7

เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
เวิลด์ไวด์เว็บ นิยมเรียกสั้นๆ ว่าเว็บ หรือ WWW ถือเป็นส่วนที่น่าสนใจที่สุดบนอินเทอร์เน็ตเพราะ
สามารถแสดงสารสนเทศต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลด้านดนตรี
กีฬา การศึกษา ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง รวมถึงภาพเคลื่อนไหว เช่นแฟ้มภาพวีดิทัศน์หรือตัวอย่าง
ภาพยนตร์ และการสืบค้นสารสนเทศในเวิลด์ไวด์เว็บนั้นจำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมค้นดูเว็บ (web browser)
ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล โดยที่เว็บกับโปรแกรมค้นผ่านจะทำหน้าที่รวบรวมและกระจายเอกสารที่เครือข่าย
ที่ทำไว้
เกตส์ (Gates, 1995) ได้กล่าวถึงเว็บไว้ว่า นอกเหนือจากการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการแลก
เปลี่ยนเอกสารกันแล้ว อินเทอร์เน็ตยังสนับสนุนสืบค้นข้อมูล อันเป็นโปรแกรมการใช้งานที่ได้รับความนิยม
มากที่สุดแบบหนึ่งนั่นคือเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งหมายถึงเครื่องบริการเว็บที่ต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยมี
ข่าวสารเป็นภาพกราฟิก เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องบริการเว็บประเภทนั้น จอภาพจะปรากฏข่าวสารพร้อมด้วย
การเชื่อมโยง เมื่อเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่จุดเชื่อมโยงใดๆ ก็จะเป็นการเปิดไปสู่อีกหน้าหนึ่งที่มีข่าวสารเพิ่มเติม
พร้อมทั้งการเชื่อมโยงจุดใหม่อื่นๆ ซึ่งข่าวสารหน้าใหม่นี้อาจจะอยู่ในเครื่องบริการเว็บเดียวกันหรืออาจเป็น
เครื่องบริการเว็บอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ต
กิดานันท์ มลิทอง (2540) ได้กล่าวถึงเวิลด์ไวด์เว็บว่า เป็นบริการสืบค้นสารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต
ในระบบข้อความหลายมิติ (hypertext) โดยคลิกที่จุดเชื่อมโยง เพื่อเสนอหน้าเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สารสนเทศที่นำเสนอจะมีรูปแบบทั้งในลักษณะของตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง การเข้าสู่ระบบ
เว็บจะต้องใช้โปรแกรมทำงานซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (Netscape
Navigator), อินเทอร์เน็ต เอ็กซพลอเรอร์ (Internet Explorer) มอเซอิก (Mosaic) โปรแกรมเหล่านี้ช่วย
ให้การใช้เว็บในอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น

ที่มา http://www.jobpub.com

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

OPAC

แบบเสนอOPAC คลิกที่นี่ครับ

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 6

คำว่า www. และ internet ถ้าจะมีใครถามหรือเราตั้งคำถามกับตัวเราเองว่าคำ 2 คำนี้เหมือนหรือแตกต่าง ๆ กันยังไงก็คงจะมีส่วนที่ยากและง่ายอยู่ สำหรับผมจากที่ได้ศึกษาและได้ทำงานด้านนี้มาก็หลายปีพอสมควรก็จะขอลองให้คำจำกัดความและชี้ให้เห็นข้อแตกต่าง ของคำ 2 คำนี้เพื่อจะให้หลาย ๆ เข้าใจมากขึ้น (สิ่งต่อไปนี้ที่จะได้อ่านเป็นเพียงการสรุปจากข้อมูลหลาย ๆ ที่ ที่ผมได้ศึกษามาและได้ถ่ายทอดไปต่อยังบุคคลอื่น ๆ)เริ่มจากคำว่า internet ก่อนหลาย ๆ ชอบใช้คำว่าเล่น internet ก็จะเหมือนกับคำว่า เล่น computer ทั้ง ๆ สิ่งที่ทำนั้นก็อาจจะเป็นการเปิด website , เล่นเกมส์ , อ่านข่าว , ดูคลิป , ฯลฯ โดยการอาศัยเครื่อง computer เป็นสื่อในการกระทำเท่านั้น ดังนั้น internet ก็จะคลายหรือเหมือนคำว่า computer ที่หลาย ๆ คนจะบอกว่าไปเล่น internet แต่จริง ๆ แล้วสิ่งที่กระทำคือการ เปิดรับ/ส่งอีเมลล์ , โพสกระทู้ถามตอบปัญหาต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่ากิจกรรมเหล่านี้ได้ใช้หรือได้กระทำผ่านทางระบบเครือข่ายที่เรียกว่า internet
www.kmitl.ac.th/ader/ww1.pdf

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 5

ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (ที่ 2 จากขวา แถวหน้า) พร้อมด้วยเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมให้กำเนิด "World Wide Web"เมื่อ 20 ปีก่อน ที่เซิร์น ร่วมถ่ายภาพกันในงานฉลองครบรอบ 20 ปี "World Wide Web" ซึ่งจัดขึ้นที่เซิร์น ใกล้กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 52 (เอเอฟพี)www มีอายุครบ 20 ปีแล้ว เซิร์นในฐานะบ้านเกิด จึงจัดงานฉลอง พร้อมเชิญเหล่านักวิทย์ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ มาบรรยายแลกเปลี่ยนทัศนะ "ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี" ผู้ให้กำเนิด "World Wide Web" ตัวจริง ก็มาร่วมเป็นคีย์โนตด้วย พร้อมเตือนผู้ใช้เว็บไซต์ให้ระมัดระวังการโพสต์ประวัติส่วนตัว เพราะอาจถูกสอดแนมจากผู้ไม่ประสงค์ดีได้ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ หรือเซิร์น (European Center for Nuclear Research: CERN) จัดงานฉลองครบรอบ 20 ปี กำเนิด "www" หรือ "เวิลด์ ไวด์ เว็บ" (World Wide Web) เมื่อวันที่ 13 มี.ค.52 ณ โกลบ ออฟ ไซน์ แอนด์ อินโนเวชั่น (Globe of Science and Innovation) ที่เซิร์น สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีสื่อมวลชนมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง www ที่เป็นประตูสู่โลกอินเทอร์เน็ตของคนทั่วโลกในทุกวันนี้มีอายุครบ 20 ปี พอดีในเดือน มี.ค. ปีนี้ จากการสร้างสรรค์และพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี (Tim Berners-Lee) นักพัฒนาซอฟต์แวร์สัญชาติอังกฤษของเซิร์น และนักวิทยาศาสตร์อีกหลายคนในองค์กรเดียวกัน สำนักข่าวเอเอฟพี พาย้อนกลับไปเมื่อเดือน มี.ค. ของ 20 ปีก่อน ที่ เบอร์เนอร์ส-ลี นำเอกสารโครงงานฉบับหนึ่ง เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล (Information Management: a proposal) ไปเสนอต่อ ไมค์ เซนดอล (Mike Sendall) หัวหน้าของเขา เมื่อเซนดอลได้อ่านดูแล้วก็บอกว่า มันยังดูไม่ค่อยมีความชัดเจนสักเท่าไหร่ แต่มันก็เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากทีเดียว ทว่าเซนดอลก็เปิดไฟเขียวให้เบอร์เนอร์ส-ลี เดินหน้าโครงการนั้นต่อไปได้ โดยมีนักวิทยาศาสตร์อีกหลายคนร่วมกันพัฒนา จนสามารถทำให้เว็บบราวเซอร์เรียกเกิดขึ้นในเดือน ต.ค. 2533 และต่อจากนั้นจนถึงปัจจุบันก็มีเว็บบราวเซอร์ เกิดขึ้นมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งนี้ ปัจจุบันเบอร์เนอร์ส-ลี เป็นนักวิจัยอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology: MIT) สหรัฐอเมริกา และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน (Southampton University) อังกฤษ รวมทั้งเป็นประธานองค์กรความร่วมมือWorld Wide Web (World Wide Web Consortium: 3WC) สำหรับกิจกรรมที่เซิร์นจัดขึ้นนั้น เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 12.00 น. ของวันที่ 13 มี.ค. (ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับ 18.00 น. ตามเวลาประเทศไทย) ที่ผ่านมา สื่มมวลชนและแขกรับเชิญ เริ่มทยอยลงทะเบียนเข้างาน และถ่ายภาพก่อนเริ่มงาน โดยมีการจำกัดจำนวนสื่อมวลชนให้ร่วมได้เพียงสื่อละ 1 คนเท่านั้น เนื่องจากสถานที่ค่อนข้างจำกัด จากนั้น 14.00 น. รอล์ฟ ฮอยเออร์ (Rolf Heuer) ผู้จัดการทั่วไปของเซิร์นได้กล่าวเปิดงาน ต่อด้วยการบรรยายพิเศษ จากนักวิทยาศาสตร์และนักพัฒนาซอฟต์แวร์อีกหลายคน เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเว็บไซต์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไปจนถึงแนวทางการพัฒนาและความเป็นไปอนาคต โดยมีเบอร์เนอร์ส-ลี เป็นผู้ปาฐกถาหลัก ทั้งนี้ เบอร์เนอร์ส-ลี ได้แสดงความกังวล เกี่ยวกับประวัติส่วนตัวอยู่ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น และจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลออนไลน์โดยอัตโนมัติ ซึ่งอาจเป็นช่องทางให้ถูกล้วงข้อมูลส่วนตัวได้ง่าย ดังนั้นผู้ใช้จึงควรหลีกเลี่ยงเว็บไซต์จำพวกนี้ และปิดท้ายการฉลอง 20 ปี www ด้วยงานเลี้ยงค็อกเทลที่สิ้นสุดลงในเวลา 19.00 น. สำหรับใครที่สนใจเกี่ยวกับกิจกรรมครบรอบ 20 ปี www และประวัติความเป็นมาของ www โดยละเอียด สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์นี้ http://info.cern.ch/ และเป็นเว็บไซต์แรกของโลกด้วย ผู้จัดการออนไลน์

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4

จุดกำเนิดของ www ถูกบันทึกว่าเริ่มต้นขึ้นเมื่อ เบอร์เนอร์ส-ลี เขียนโครงการส่งหัวหน้าหน่วยวิจัย CERN ในเดือนมีนาคม 1989 เป็นโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างนักวิทยาศาสตร์ในทวีปยุโรป โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ CERN ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์ ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์โดยใช้ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ก่อนจะเริ่มทดสอบโปรแกรมต้นแบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อรันบนคอมพิวเตอร์ NeXT ซึ่งเป็นพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ OS X Macintosh ของแอปเปิล ปีต่อมา เบอร์เนอร์ส-ลีใช้เวลา 2 เดือนในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งสามารถเปิดให้ผู้ใช้แบ่งปันข้อมูลระหว่างกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้ชื่อเรียกเครือข่ายนี้ว่า World Wide Web ชื่อเครือข่ายใยแมงมุมทั่วโลกดังกล่าวเป็นที่รู้จักในวงกว้างช่วงปี 1991 และได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจากหน่วยงานบริษัทไอที จนแพร่หลายไปในวงกว้างขึ้นเรื่อยๆเช่นในปัจจุบัน
เค้ายังกล่าวใน งานฉลองครบรอบ 20 ปี www เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 52 ณ โกลบ ออฟ ไซน์ แอนด์ อินโนเวชั่น (Globe of Science and Innovation) ที่เซิร์น สวิตเซอร์แลนด์ ว่า...
นักท่องอินเทอร์เน็ตทุกคนกำลังมีความเสี่ยงในการถูกรัฐบาลและองค์กรทั่วไปติดตามสอดแนมประวัติการใช้งานเว็บไซต์มากขึ้น ระบุว่านี่คือเรื่องสำคัญที่นักท่องเน็ตทุกคนควรหลีกเลี่ยง ไม่ได้พูดถึงองค์กรใดเป็นพิเศษแต่หลายเสียงมองว่าสิ่งที่ เบอร์เนอร์ส-ลี พูดพาดพิงถึงกูเกิล
www.b2ccreation.com

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 3

สารสนเทศส่วนราชการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานในกำกับของรัฐบาลต่างๆ แม้ขณะนี้จะยังคงมีการนำเสนอข้อมูลในรูปของสิ่งพิมพ์ที่เป็น หนังสือ วารสาร เอกสาร จุลสาร แผ่นปลิว และวัสดุไม่ตีพิมพ์อื่นๆ แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ก่อประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการจัดเก็บ การประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายตลอดเวลาจากทั่วทุกมุมโลก ในหลากหลายสาขาวิชาทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และการพัฒนาสาขาวิชาการใหม่ๆ อีกมาก
หน่วยงานต่าง ๆ ภาครัฐได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศนี้มาพัฒนาฐานข้อมูลในความรับผิดชอบขององค์กรเพื่อใช้ในหน่วยงาน และกระจายสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ นักธุรกิจ นักศึกษา นักวิจัย ตลอดจนประชาชนทั่วไป ให้ได้รับทราบทั้งเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน การดำเนินธุรกิจ การศึกษาค้นคว้าวิจัย และการดำรงชีวิตประจำวัน โดยการเผยแพร่ผ่าน World Wide Web นี้ทำให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศอย่างรวดเร็ว เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัสสารสนเทศมากมายมหาศาลจะปรากฎบนจอภาพให้ได้อ่าน ได้เลือก ตามความสนใจและตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้ หากเรื่องใด รายการใดต้องการจะเก็บไว้ศึกษาค้นคว้าใช้งานก็สามารถเรียกเก็บข้อมูล (download) ใส่ไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว หรือเก็บในแผ่นบันทึกข้อมูล (diskette, CD-ROM) ซึ่งจะเรียกใช้เมื่อใดก็ได้ ซึ่งน่าจะมีผู้ปฏิบัติเช่นนี้อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานให้บริการสารสนเทศตามห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศต่างๆ ที่ได้เข้าไปแสวงหาสารสนเทศจาก Web site ต่างๆ แล้วนำมาวิเคราะห์ประเมินคุณค่าคัดเลือกรวบรวมไว้ เพื่อจักได้ให้บริการได้อย่างรวดเร็วหรืออาจเพราะบางครั้งสารสนเทศบางเรื่องเมื่อเผยแพร่สักระยะหนึ่งแล้วเมื่อเข้าไปสืบค้นอีกจะไม่พบ
www.lib.ru.ac.th/article/gp.html

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 2

การใช้เทคโนโลยีอื่นนอกจาก World Wide Web สำหรับอินทราเน็ต
เมื่อเราพูดถึง Intranet คนส่วนใหญ่จะนึกถึง World Wide Web หรือภาษาชาวบ้านก็คือ home page ที่เป็นข่าวสารภายในหรือข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ผิด เพราะส่วนใหญ่เราก็ใช้ World Wide Web สำหรับอินทราเน็ตจริงๆ และ World Wide Web ก็เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุด และมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับอินทราเน็ต แต่ในเมื่ออินทราเน็ตก็คือ การใช้เทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ต สำหรับงานภายในองค์กร และ World Wide Web ก็เป็นเพียงเทคโลยีหนึ่งในอินเตอร์เน็ตเท่านั้น World Wide Web ไม่ใช่อินเตอร์เน็ตทั้งหมด ยังมีเทคโนโลยีอื่นอีกที่ใช้ในอินเตอร์เน็ต ถ้าเราพิจารณาและเลือกใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้เหมาะสม เราก็อาจได้อินทราเน็ตที่มีประสิทธิภาพ และต้นทุนถูกกว่าการใช้ เทคโนโลยีของ World Wide Web เพียงอย่างเดียวก็ได้ ดังนั้นบทความนี้จึงชวนท่านผู้อ่านมามองหาเทคโนโลยีอื่นดูบ้าง ว่าจะเป็นประโยชน์กับอินทราเน็ตเพียงใด
หากจะพูดถึงเทคโนโลยีอื่นที่ไม่ใช่ World Wide Web แล้วมันก็เป็นเรื่องยากพอสมควร ที่จะแยกเทคโนโลยีอื่นออกไปจาก WWW เพราะปัจจุบันผู้ผลิต software ทั้งหลาย ก็พยายามผูกโยงตัวเองเข้าไปกับ browser อยู่แล้ว Java นั้นหากเราจะแยกจาก WWW ก็ได้ ถึงแม้จะผูกโยงโดยตรงกับ browser ก็ตาม แต่ถึงอย่างไรแล้ว Java ก็เป็นความซับซ้อนและต้องการผู้เชี่ยวชาญ มากกว่าการใช้ WWW ธรรมดาเสียอีก ในบทความนี้จึงไม่ถือว่า Java เป็นเทคโนโลยีในกลุ่มที่เราจะพิจารณา
ในมหาวิทยาลัยรังสิตนั้น เราก็ใช้ WWW เป็นหลักและอาจเรียกได้ว่า เป็นเทคโนโลยีเดียวที่ใช้ในอินทราเน็ตก็ได้ แต่ในขณะเดียวกันเราก็ได้พยายามมอง และได้ทดลองนำเทคโนโลยีอื่นมาใช้บ้างแล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังไม่มีอะไรดีกว่า WWW ในมหาวิทยาลัยรังสิตเราใช้ WWW ในการให้ข่าวสารและข้อมูล ด้านต่างๆแก่ทั้งผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษา ซึ่งรวมไปถึงผู้ปกครองของนักศึกษาด้วย ข่าวและข้อมูลที่ให้นั้นถือว่า ผู้บริโภคข่าวหรือข้อมูลมีสิทธิที่จะเลือกดูหรือไม่ดูก็ได้ เราไม่ได้บังคับ ขณะที่มีการใช้ WWW อีกด้านหนึ่งซึ่งมีลักษณะเป็นการประมวลผล งานแบบนี้จะมีลักษณะบังคับ เช่นการเบิกจ่ายพัสดุจะต้องทำผ่านอินทราเน็ตเท่านั้น จะเบิกโดยวิธีอื่นไม่ได้ นั่นคืองานที่มีลักษณะบังคับ หรือการให้นักศึกษาลงทะเบียนผ่านอินทราเน็ต บังคับให้ลงทะเบียนได้ทางนี้ทางเดียว จึงมีลักษณะบังคับ เมื่อบังคับแล้วผู้บริโภคย่อมไม่มีสิทธิเลือก ไม่มีโอกาสบิดพริ้ว จะไม่สนใจไม่ได้ งานที่มีลักษณะบังคับนี้ จึงประสบความสำเร็จในแง่ผู้ใช้อยู่ในตัวอยู่แล้ว แต่งานในลักษณะที่ไม่บังคับนี่สิ ผู้บริโภคอาจไม่สนใจเลยก็ได้ ถ้าข่าวสารหรือข้อมูลนั้นไม่ดีพอ สำหรับอินทราเน็ตในมหาวิทยาลัยรังสิตนั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จไปทุกระบบ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษานั้น แน่นอนย่อมประสบความสำเร็จ เพราะนักศึกษาทุกคนอยากรู้ผลการเรียนของตนเอง ถึงแม้จะสามารถหาดูได้ทางอื่น แต่ข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ ก็แลดูน่าเชื่อถือกว่าและที่สำคัญ เรารู้ถึงเสน่ห์ของความเปลี่ยนแปลง
http://itnet.rsu.ac.th/surachai/intranet5.html